กองทุนรวมมีไรทำอะไร ทำความรู้จักกองทุนรวมและการลงทุน ตรวจสอบกองทุนรวมมีอะไรบ้าง 2566

  1. กองทุนรวม

ที่มา :

กองทุนรวมคืออะไร?

กองทุนรวม หรือ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Mutual Fund หมายถึง กระบวนการรวบรวมทรัพย์สินประเภทเงินของนักลงทุนเช่นคุณมาลงทุนตามแต่ละนโยบายของกองทุนรวมเหล่านั้นที่กำหนดไว้นั้นๆ ทั้งนี้กองลงทุนในกองทุนรวมมีผลตอบแทน และมีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงสูง จึงจำเป็นที่จะต้องมีคนที่คอยดูแลการลงทุนของคุณให้เป็นไปตามที่คาดหวังมากที่สุด โดยผู้นั้นได้แก่ ผู้จัดการกองทุน ซึ่งเป็นผู้ที่มีอาชีพช่วยบริหารจัดการงเนภายในกองทุนต่างๆ 

หากอธิบายอย่างสั้นๆ กองทุนรวม คือ การลงทุนรูปแบบหนึ่งในรูปแบบของเครื่องมือการลงทุน (Investment Vehicle) สำหรับนักลงทุนรายย่อยที่ต้องการนำเงินของตนเองมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุนภายใต้เครื่องมือการลงทุนที่สามารถไว้ใจได้ประมาณนึงว่ามีประสิทธิภาพ อยู่ภายใต้เป้าหมายการลงทุนที่มุ่งเน้นผลตอบแทนที่ดีที่สุด ในขณะที่ยังไม่เกินกว่าความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนรับได้นั่นเอง 

 

โครงสร้างของกองทุนรวม

กองทุนรวม มีโครงสร้างที่สำคัญอยู่ 4 ส่วน ได้แก่ บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือ บลจ., การกำกับดูแลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต., ผู้ถือหน่วยลงทุน และหลักทรัพย์ที่ใช้ลงทุน รายละเอียดดังแผนภูมิด้านล่าง

ที่มา : 

เมื่อตอนต้นของย่อหน้าได้กล่าวถึง 2 หน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทเป็นอย่างมากต่อการลงทุนในกองทุนรวม 

เริ่มต้นที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือตัวย่อว่า บลจ. นั้นเป็นหน่วยงาน / บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่จะกล่าวต่อมาภายหลังอย่างก.ล.ต. ให้ทำหน้าที่ในการบริหารเงินของนักลงทุนในรูปแบบการลงทุนประเภทกองทุนรวม, กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) รวมไปถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นบริษัทที่มีบทบาทต่อเงินในกระเป๋าตังค์ของคุณจริงๆ ทั้งนี้หากพิจารณาเลือกบลจ. ของสถาบันทางการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งนั้นควรคำนึงถึงความสามารถในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับกองทุนรวมนั้นๆ เป็นอย่างดี, มีความเพรียบพร้อมในการให้ข้อมู,ข่าวสารที่แม่นยำ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเพื่อผลประโยชน์ต่อนักลงทุนให้สามารถตัดสินใจเลือกกองทุนรวมที่ได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวัง และอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่นักลงทุนรายนั้นรับได้, ตอบสนองต่อการเลือกซื้อกองทุนรวมอย่างทันท่วงที และสุดท้ายควรพิจารณาถึงตวามน่าเชื่อถือของบลจ. ตลอดจนฐานะทางการเงินทั้งในปัจจุบัน และย้อนหลังของบลจ. นั้นๆ 

หน่วยงานอีกหน่วยงานนึงที่มีความสำคัญต่อการลงทุนประเภทกองทุนรวม ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตัวย่อว่า ก.ล.ต. เป็นหน่วยงาน / องค์กรประภทอิสระ ถูกก่อตั้งมาแล้วกว่า 30 ปี ซึ่งก.ล.ต. มีหน้าที่ในการดูแล และกำกับตลาดทุนทั้งประเภทตลาดทุนที่ออกทรัพย์ใหม่ และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์

ประภทของกองทุนรวม

หลังจากที่ทราบว่ากองทุนรวมคืออะไร แล้วนั้นหลายต่อหลายท่านคงเกิดคำถามว่าแล้วกองทุนรวมมีอะไรบ้างสามารถแบ่งออกได้กี่ประเภท

โดยภายในบทความนี้จะกล่าวถึงประเภทของกองทุนรวมที่น่าสนใจามระดับความเสี่ยง หรือ Risk Spectrum โดยเรียงลำดับประเภทของการทุนจากความเสี่ยงน้อยไปความเสี่ยงมาก ซึ่งมีทั้งกองทุนรวมภายในประเทศ และกองทุนรวมต่างประเทศ รายละเอียดดังนี้

ที่มา : 

 

กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ

เริ่มต้นที่กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดในความเสี่ยงระดับที่ 1 กองทุนรวมความเสี่ยงต่ำที่สุดนี้มีชื่อว่า “กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ” ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนในรูปแบบเงินฝาก ตั๋วเงิน และตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 12 เดือน หรือ 1 ปีนั่นเอง กองทุนรวมประเภทนี้เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ชื่นชอบความเสี่ยง หมายรวมไปถึงนักลงทุนที่ประสงค์จะพักทรัพย์ประเภทเงินในช่วงที่เศรษฐกิจ หรือผลตอบแทนไม่ดี

กองทุนรวมต่างประเทศ

ขยับความเสี่ยงขึ้นมาอีกระดับ เป็นระดับที่ 2 กันบ้าง กองทุนรวมในความเสี่ยงระดับที่ 2 นี้มีชื่อว่า “กองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศโดยเป็นกองทุนที่เหมือนกับกองทุนรวมในระดบที่ 1 เลยทั้งในด้านการเป็นกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนในรูปแบบเงินฝาก ตั๋วเงิน และตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 12 เดือน หรือ 1 ปี เพียงแต่กองทุนรวมต่างประเทศ นั้นอาจจะมีการลงทุนในต่างประเทศบางส่วนนั่นเอง ซึ่งมีความเสี่ยงด้านค่าเงินนต่างประเทศ อัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเพิ่มเติมขึ้นมาในระดับที่ 2 นี้ ทั้งนี้กองทุนรวมประเภทนี้จะมีการป้องกันลดความเสี่ยงด้านอัตราการแลกเปลี่ยนไว้สำหรับนักลงทุนทุกท่าน โดยกองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศนั้นเป็นอีกช่องทางหนึ่งของการกระจายเงินทุนของคุณไปยังต่างแดนเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนของนักลงทุนนั่นเอง

หลายท่านอาจเกิดข้อสงสัยในการลงทุนกองทุนรวมในต่างประเทศว่า กองทุนรวมถอนได้ไหม โดยกองทุนรวมตลาดเงินทั้งสองประเภทสามารถถอนได้ตลอดตามแต่นักลงทุน

กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล

กองทุนรวมประเภทต่อมาจากความเสี่ยงระดับที่ 2 เป็นความเสี่ยงระดับที่ 3 มีชื่อกองทุนรวมว่า “กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล” ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในรูปแบบของตราสารหนี้ภาครัฐ ตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และ/หรือ พันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้กองทุนรวมระดบความเสี่ยงระดับที่ 3 นี้จะต่างจากกองทุนรวม 2 อันดับแรกในด้านของอายุเฉลี่ยที่ต้องมีอายุเฉลี่ยมากกว่า 1 ปีขึ้นไปส่งผลให้เกิดความเสี่ยง และความผันผวนมากกว่ากองทุนรวมตลาดเงินทั้งในประเทศ และกองทุนรวมต่างประเทศ

 

กองทุนรวมตราสารหนี้

กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับกลางของ Risk Spectrum มีชื่อว่า “กองทุนรวมตราสารหนี้ซึ่งเป็นรูปแบบของการทุนรวมที่เจาะจงการลงทุนในรูปแบบตราสารหนี้ทั้งของภาครัฐ และตราสารหนี้ภาคเอกชนเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, พันธบัตรรัฐบาล, ตั๋วเงินคลัง รวมไปถึงหุ้นกู้จากบริษัท/หน่วยงานเอกชนอีกด้วย กองทุนรวมตราสารหนี้มีให้คุณเลือกลงทุนทั้งแบบระยะสั้น และระยะยาว โดยกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นมีอายุเฉลี่ยไม่ถึงหนึ่งปี ส่วนกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาวมีอายุเฉลี่ยมากกว่า 1 ปีนั่นเอง ดังนั้นแล้วกองทุนรวมตราสารหนี้จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนแบบระยะสั้น และแบบระยะยาว รวมไปถึงนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงระดับปานกลางได้ หมายความไปถึงผู้ลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนที่สูงมากยิ่งขึ้น และเหมาะกับผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยงไปทั่วพอร์ตการลงทุน โดยจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบของดอกเบี้ย

กองทุนรวมผสม

กองทุนรวมความเสี่ยงระดับที่ 5 ปานกลางค่อนไปทางสูง ได้แก่ กองทุนรวมผสมลักษณะเด่นในการที่คุณสามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายประกอบด้วยเงินฝาก, ตราสารหนี้ และหุ้นเป็นต้น ทั้งนี้กองทุนรวมผสมนี้มีความเสี่ยงที่ค่อนไปทางสูง ผู้ลงทุนในกองทุนรวมนี้ควรเป็นคนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ และเหมาะกับผู้ที่มีข้อจำกัดด้านเวลา สำหรับการโยกย้าย ปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ในการลงทุน กรณีที่ตลาดมีความผันผวนค่อนข้างสูง

กองทุนรวมตราสารทุน

กองทุนรวมความเสี่ยงระดับ 6 มีชื่อว่า กองทุนรวมตราสารทุนเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นมาเนื่องจากการลงทุนในหุ้นภายในตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นจากต่างประเทศ โดยกองทุนรวมนี้ยังครอบคลุมไปถึงกองทุน RMF และSSF อีกด้วย ซึ่งกองทุนรวมตราสารทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงในระดับสูงได้ แต่ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามเช่นกัน หรือคู่ควรแก่ผู้ที่ชื่นชอบการลงทุนในตลาดหุ้น เพียงแต่ผู้นั้นไม่มีเวลาในการศึกษาหุ้น ดูแลหุ้นด้วยตนเอง

หากขยายความกองทุน RMF และกองทุน SSF มีความหมายดังนี้ กองทุน RMF คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่ง RMF ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund ซึ่งมีรูปแบบกองทุนรวมที่ช่วยส่งเสริมการให้เกิดการออมเงินไว้ใช้จ่ายเมื่อคุณเกษียณอายุการทำงาน โดยมีรูปแบบ และลักษณะใกล้เคียงกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเอกชน 

ส่วนกองทุน SSF หมายถึง กองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว อีกทั้งยังสามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีให้กับคุณอีกด้วย โดย SSF ย่อมาจาก Super Savings Fund นอกจากนี้รู้หรือไม่ว่า SSF นั้นเป็นกองทุนรวมที่มาแทนที่กองทุนรวมที่หมดอายุไปเมื่อปีพ.ศ. 2562 อย่างกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF นั่นเอง

กองทุนรวมตามหมวดอุตสาหกรรม

มาถึงกองทุนรวมความเสี่ยงระกับสูงอย่างระดับที่ 7 กันบ้างกองทุนรวมนี้ คือ กองทุนรวมตามหมวดอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนให้ตลาดหุ้นในอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น หุ้นสื่อสาร, หุ้นจำพวกโรงพยาบาล และหุ้นกลุ่มธนาคาร เป็นต้น กองทุนรวมประเภทนี้มีความเสี่ยงที่สูงมาก สูงมากกว่ากองทุนรวมตราสารทุนทั่วไป เหตุผลหลักมาจากการลงทุนแบบกระจุกตัวเฉพาะตลาดหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม ดังนั้นกองทุนรวมตามหมวดอุตสาหกรรมจึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงในระดับสูงได้ และจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ และความเข้าใจในอุตสาหกรรมแต่ละประเภทที่ลงทุนเป็นอย่างดี

กองทุนรวมทางเลือก

กองทุนรวมที่มีระดับความเสี่ยงระดับมากที่สุดใน Risk Spectrum ได้แก่ กองทุนรวมทางเลือกซึงเป็นกองทุนรวมที่นักลุนทุนสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าสินทรัพย์พื้นฐานยก ตัวอย่างเช่น การลงทุนในทองคำ หรือในน้ำมันเป็นต้น ซึ่งมีความผันผวนที่สูงมาก ทั้งนี้กกองทุนรวมทางเลือกเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มีความเข้าใจรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ และเพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนในภาพรวมนั่นเอง

 

กองทุนรวมได้ผลตอบแทนอย่างไร

ที่มา : 

กองทุนรวมมีมากมายหลากหลายประเภทให้นักลงทุนได้เลือกลงทุน เมื่อคุณเป็นนักลงทุนแล้วผลตอบแทนในการลงทุนย่อมเป็นปัจจัยหลักในการเลือกลงทุนกองทุนรวม และเป็นเหตุผลในการตอบคำถามที่ว่าควรเลือกกองทุนรวมอันไหนดีโดยผลตอบแทนจากกองทุนรวม ได้แก่ เงินปันผล, ดอกเบี้ยรับ, หุ้นเพิ่มทุน และกำไร หรือ Capital Gain เมื่อคุณขายหน่วยลงทุนออกจากพอร์ตตอนที่มูลค่าของหน่วยลงทุนสูงกว่ามูลค่าตอนที่คุณซื้อหน่วยลงทุนตอนแรกนั่นเอง

กองทุนรวมธนาคารไหนดี 2566

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว นักลงทุนหลายท่านคงอยากจะเริ่มลงทุนกองทุนรวมกันบ้างแล้ว ต่อจากนี้คุณจะได้รับคำตอบจากคำถามที่ว่ากองทุนรวมธนาคารไหนดี ประจำปีพ.ศ. 2566 หรือปีค.ศ. 2023 นี้

กองทุนรวมธนาคารไหนดี 2566 : กองทุนรวมตลาดเงิน

หากกล่าวถึงตัวอย่าง กองทุนรวมประเภทตลาดเงินที่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนสูงประจำปีพ.ศ. 2566  ได้แก่ กองทุนรวมไทย แคช แมเนจเม้นท์ เอ็นจอย (TCMFENJOY) กองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารนี้ของธนาคาร UOB, กองทุนรวม scb ในรูปแบบตราสารรัฐตลาดเงิน พลัส ชนิดหน่วยลงทุน (E SCBTMFPLUS-E) กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในตราสารภาครัฐ ตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงิน พนธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และกองทุนรวมเค บริหารเงิน (K-CASH) จากธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นการลงทุนในตลาดเงินภายในประเทศที่เน้นการลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนพันธบัตรของรัฐบาล และพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับค้ำประกันจากกระทรวงการคลัง

กองทุนรวมธนาคารไหนดี 2566 : กองทุนรวมตราสารหนี้

เพิ่มความเสี่ยงมายังระดับกลางกันบ้างกับตัวอย่าง กองทุนรวมประเภทตราสารหนี้ที่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนสูงประจำปีค.ศ. 2023 ได้แก่ กองทุนจากธนาคารกรุงศรีอย่างกองทุนรวมกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้ (KFAFIX) ซึ่งเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ หมายรวมถึงเงินฝาก หรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ, กองทุนรวมเคเอ คอร์เปอเรื บอนด์ (KACB) ซึ่งออกโดยธนาคารกสิกรไทยเพื่อให้นักลงทุนสามารถลงทุนในตราสารหนี้เงินฝาก หรือตราสารเที่ยบเท่าเงินฝาก ตราสารหนี้ภาคเอกชนได้ในสัดส่วนที่รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุนรวมนั่นเอง และตัวอย่างสุดท้ายมาจาก
บลจ.อย่าง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ออกกองทุนเอ็มเอฟซี 3 ปี ทวิสุข 1 (MT3Y1) ให้ผู้ลทุนสามารถลงทุนในตราสารหนี้ทั้งของภาครัฐบาล และเอกชน

กองทุนรวมธนาคารไหนดี 2566 : กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF

เมื่อมองถึงอนาคตของคุณในวัยเกษียณจากการทำงาน การวางแผนเพื่ออนาคตในการเลี้ยงชีพเป็นเรื่องที่จำเป็น และสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยตัวอย่างกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ที่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนสูงประจำปีพ.ศ. 2566 ได้แก่ กองทุนรวม China Opportunity เพื่อการเลี้ยงชีพ (TMBCORMF) จากธนาคารทหารไทย (TMB) โดยเป็นกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองเดียวเท่านั้น (Master Fund) ซึ่งก็ตือ กองทุน UBS (Lux) Equity Fund-China Opportunity (USD) ในหน่วยลงทุนชนิด Class I-A1-acc, กองทุนรวมจากธนาคารกสิกรไทยอย่างกองทุนเปิดเค โกลบอล เฮลท์แคร์ ประเภทหุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือตัวย่อ KGHRMF โดยกองทุนรวมนี้เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนภายใต้กองทุน JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund, ในระดับคลาส A (acc) – USD และตัวอย่างสุดท้ายของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ได้แก่ กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เฮลธ์แคร์ เพื่อการเลี้ยงชีพจากหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมกรุงไทย หรือตัวย่อ KT-GEALTHC RMF ซึ่งเน้นการลงทุนมนหน่วยลงทุนเฉพะของกองทุน Janus Global Life Sciences Fund (Master Fund)

ข้อควรพิจารณาก่อนการซื้อกองทุนรวม

ที่มา : 

เมื่อทราบถึงกองทุนรวมที่น่าสนใจเนื่องจากมีแนวโน้มผลตอบแทนที่ดี คุณคงอยากจะทราบว่าการซื้อกองทุนนั้นมีวิธีการอย่างไร แต่ก่อนที่จะไปทราบถึงขั้นตอนการซื้อนั้นการรู้ข้อควรพิจารณาก่อนการเลือกกองทุนก่อนตัดสินใจซื้อกองทุนรวมก็สำคัญไม่แพ้ โดยมีด้วยกัน 5 ข้อดังนี้

  1. ทำการสำรวจตัวคุณเองเสียก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อกองทุนรวม โดยให้ถามตัวเองว่าต้องการลงทุนในกองทุนรวมประเภทใด ยอมรับความเสี่ยงได้ระดับไหน
  2. ศึกษารายละเอียดของกองทุนรวมอย่างละเอียดผ่าน Fund Fact Sheet เสมอ โดย Fund Fact Sheet ที่กล่าวมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยตัดสินใจซื้อกองทุนรวมเนื่องจากภายในชีทประกอบด้วย ประเภทของกองทุนรวมนั้นๆ, ขนาดกองทุนรวม, ขั้นต่ำในการซื้อกองทุนรวม, การปันผล (ถ้ามี) และค่าธรรมเนียม เป็นต้น
  3. พิจารณาถึงผลตอบแทนที่สม่ำเสมอเป็นสำคัญ
  4. วัดความเสี่ยงเบื้องต้นจากค่า Standard Deviation (S.D.) โดยสามารถอ่านค่านี้ได้ยิ่งค่า S.D. สูง แปลว่ากองทุนรวมนั้นยิ่งเสี่ยง
  5. จัดตารางเวลาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตรวจสอบ และติดตามผลอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน หรือทุกๆ 1 ปีก็ได้ เพื่อให้กองทุนรวมที่คุณตัดสินใจเลือกซื้อไปนั้นยังอยู่ในเป้าหมายของคุณอยู่

การซื้อกองทุนรวม

การซื้อกองทุนรวมมีวิธีการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกองทุนรวมของแต่ละธนาคารได้ประมาณ 6 ขั้นตอน หรือวิธีด้วยกัน ประกอบด้วย

  1. กรอกใบคำขอใช้บริการกองทุน (Application Form)
  2. เตรียมเอกสารสำหรับการซื้อกองทุนรวม โดยแบ่งเป็นสำหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
    2.1 เอกสารสำหรับบุคคลธรรมดา ประกอบด้วย สำเนาเอกสารแสดงตน, สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี, สำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ และเอกสารอื่นๆ แล้วแต่ละธนาคาร
    2.2 เอกสารสำหรับนิติบุคคล ประกอบด้วย หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล, หนังสือบริคณห์สนธิ, รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท, สำเนาเอกสารแสดงตนของกรรมการบริษัท, สำเนาเอกสารแสดงตนของผู้ที่ถือหุ้นร้อยละ 25 ขึ้นไป, สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือบอจ.5, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ และเอกสารอื่นๆ แล้วแต่ละธนาคาร
  3. ศึกษารายละเอียดของกองทุนจาก Fund Fact Sheet หรือ หนังสือชี้ชวนการลงทุน
  4. กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มคำสั่งซื้อหน่วยลงทุน (Purchase Order) ประอกบกับแสดงสำเนาเอกสารแสดงตน
  5. สั่งซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมจากการชำระด้วยเงินสด, การชำระผ่านการโอน, การชำระด้วยแคชเชียร์เช็ค, บัตรเครดิต เป็นต้น
  6. เมื่อชำระแล้ว คุณจะได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์ในหน่วยลงทุนนั้นๆ (Fund Book)

เทคนิคการเลือกกองทุนรวม

สุดท้ายนี้การเลือกกองทุนรวมที่น่าสนใจมีเทคนิคด้วยกัน 3 เทคนิคเรียกว่าเทคนิค S-R-F โดยที่ S ย่อมาจาก Style หมายความถึงการเลือกกองทุนที่ใช่สำหรับนิสัยการลงทุนของคุณ ตามสไตล์ของคุณ, R ย่อมาจาก Return ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอตามเป้าหมายการลงทุน และตัวสุดท้าย F ย่อมาจาก Free หมายถึงกองทุนรวมที่มีต้นทุนค่าธรรมเนียมกองทุนต่ำ เปรียบได้กับการฟรีค่าธรรมเนียมนั่นเอง

อ้างอิง

https://bkklovehoro.com/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5-2563-%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87-2020/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/