M-Pass คืออะไร ดูการใช้งาน/ข้อดีข้อเสีย/จุดเด่นและความแตกต่างของ M-Pass กับ Easy Pass ต่างกันยังไง

  1. M-Pass

ที่มา :

ประวัติของ M-Pass 

ที่มา :

ย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ. 2562 ชาวไทยได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทางมากยิ่งขึ้น สิ่งนั้น คือ แอปพลิเคชั่น M-Pass เวอร์ชั่นใหม่นั่นเอง โดยนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง และนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวแอปพลิเคชั่นที่ช่วยให้การเดินทางในวันที่เร่งรีบของคุณง่ายยิ่งขึ้นเพียงเติมเงินเข้าสู่ M-Pass ผ่านการสแกน QR Code ของ Mobile Banking จากธนาคารต่างๆ 

 

ความหมายของ M-Pass 

ควาหมายเพิ่มเติมของ M-Pass คือ ระบบเก็บเงินค่าผ่านทางแบบอัตโนมัติบนทางหลวงพิเศษที่เชื่อมระหว่างเมือง ภายใต้ความดูแลของกรมทางหลวง โดยกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองได้ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานของประชาชน และเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่หนาแน่นเป็นอย่างมากในเวลาที่เร่งรีบหน้าด่านเก็บเงิน เก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง ทั้งนี้ระบบ M-Pass นั้นกรมทางหลวงได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยเพื่อให้ระบบมีความพร้อมมากยิ่งขึ้น สามารถดูแลผู้ใช้บริการได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการกระจายบัตร การตรวจสอบดูแลบัญชีผู้ใช้ รวมไปถึงการบริหารจัดการธุรกรรมทางการเงินที่ผู้ใช้จะต้องเติมเงินค่าผ่านทางเข้าไปในบัตร M-Pass นั่นเอง

ระบบ M-Pass ที่กล่าวไปข้างต้นมีการให้บริการผ่านทางอัตโนมัติในการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางด่วนทุกเส้นทาง (M-Pass ทางด่วน) และทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงหมายเลข 9 ซึ่งหมายเลข 7 ได้แก่ เส้นทางกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา ส่วนทางหลวงหมายเลข 9 ได้แก่ เส้นทางบางปะอิน-บางพลี หรือถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกนั่นเอง ไม่เพียงเท่านี้ระบบแอปพลิเคชั่น M-Pass เวอร์ชั่นใหม่ยังมีความสามารถที่ดีมากๆ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้บริการสามารถเช็คยอดเงินคงเหลือในบัตรเอ็มพาสได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส หรือแม้กระทั่งสามารถตรวจสอบรายงานสรุปค่าผ่านทาง M-Pass, การคำนวณราคาค่าผ่านทางเบื้องต้น, ประวัติการเดินทางที่เราเคยผ่านช่อง M-Pass ย้อนหลังไปจนถึงสถานที่จำหน่ายบัตรเอ็มพาสก็สามารถทำได้เช่นกัน

การสมัคร M-Pass

ที่มา :

เมื่อได้ทำความรู้จัก M-Pass ไปบ้างแล้ว ต่อมาจะกล่าวถึงรายละเอียดการสมัคร M-Pass ทั้งแบบที่สาขา หรือแบบสมัคร M-Pass ออนไลน์กันบ้างเพื่อให้การเดินทางในทุกๆ วันของคุณสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

การสมัคร M-Pass นั้นทำได้ง่ายนิดเดียวไม่ว่าจะวัยรุ่นหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่วัยกลางคนก็สามารถสมัครได้อย่างง่ายดาย เพราะ M-Pass สามารถสมัครแ และรับบัตรเอ็มพาสได้หลากหลายช่องทาง เช่น สมัคร M-Pass ที่ธนาคารกรุงไทยกว่า 400 สาขาทั่วประเทศ, พื้นที่บริการขาออก (Service ขาออก) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง 16.30 น. หรือหากใครสะดวกใช้บริการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 9 ก็สามารถสมัครบัตรเอ็มพาสได้ที่จุดบริการด่านทับช้าง 2 ตั้งแต่ช่วงเช้า 8.30 น. ถึงช่วงหัวค่ำ19.00 น. ซึ่งคุณจะได้รับบัตรเอ็มพาสผ่านทางไปรษณีย์ถึงบ้านไม่เกิน 2 สัปดาห์ และไม่เสียค่าจัดส่งอีกด้วย หรือสามารถสมัคร M-Pass ออนไลน์ได้ที่ KTB NetBank ซึ่งเป็น Internet Banking ของธนาคารกรุงไทยนั่นเอง

เอกสารสำหรับการสมัคร M-Pass

ที่มา :

เอกสารที่ใช้สมัคร M-Pass ก็ไม่ได้มีเยอะมากมายซึ่งสามารถแบ่งประเภทของเอกสารที่ใช้ สมัคร M-Pass ได้ 2 ประเภทด้วยกัน หากเป็นบุคคลธรรมดาใช้เอกสารแค่สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง โดยจำกัดสิทธิ์สูงสุด 2 บัตรต่อหนึ่งบุคคล ผิดกับประเภทนิติบุคคลที่ไม่จำกัดจำนวนบัตร M-Pass ที่ต้องการครอบครอง โดยประเภทนิติบุคคลต้องใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล, สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจพร้อมลงลายมือชื่อ และเอกสารสุดท้ายหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ เมื่อมีกรณีมอบอำนาจช่วง

สิทธิประโยชน์ของการสมัคร M-Pass

ที่มา :

เมื่อสมัคร M-Pass เป็นที่เรียบร้อยคุณจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทางที่มาในรูปแบบของกล่องที่ข้างในประกอบด้วยบัตรเอ็มพาส (บัตร M-Pass e-Money) ไว้สำหรับเติมเงิน M-Pass และการทำธุรกรรมต่างๆ นอกจากบัตรเอ็มพาสแล้วยังได้รับ Tag สำหรับติดบริเวณกระจกของรถยนต์ ที่มาพร้อมขาตั้ง และผ้าเช็ดกระจก ไม่เพียงเท่านี้คุณจะได้รับคู่มือการใช้งาน ข้อตกลง และเงื่อนไขการใช้บริการระบบ M-Pass อีกด้วยซึ่งมาพร้อมกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (KTB e-Money Card) และซองรหัสผ่าน (PIN Mailer) เพื่อให้คุณสามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ทุกเครื่องทั่วไทย

การเติมเงิน M-Pass

หลังจากที่ได้รับบัตร M-Pass มาแล้วคุณสามารถเติมเงินเข้าสู่ระบบ M-Pass ได้หลากหลายช่องทางทั้งจากการเติมเงินผ่านจุดให้บริการ M-Pass ตลอดจนการเติมเงินผ่านธนาคารกรุงไทยโดยตรง, เครื่อง ATM/ADM ของธนาคารกรุงไทย, ตู้บุญเติม หรือเติมเงินออนไลน์ผ่าน KTB NetBank รวมไปถึงบริการตัดเงินจากบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทยแบบอัตโนมัตินั่นเอง ทั้งนี้หากใครไม่มีบัตร M-Pass แบบ e-Money ก็สามารถเติมเงินค่าผ่านทางได้เหมือนกัน ซึ่งผู้ใช้บริการบัตรเอ็มพาสนั้นสามารถระบุตัวเลข M-Pass ที่เขียนอยู่หลังบัตรจำนวน 10 หลักได้ กรณีที่ไม่ทราบเลข M-Pass หลังบัตรให้โทรติดต่อ Call Center เพื่อสอบถามข้อมูล และยืนยันตัวตนของคุณจากการแจ้งชื่อนามสกุล หรือหมายเลขประจำตัวประชาชน หรือ หมายเลขโทรศัพท์อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

สำหรับวงเงินการเติมเงินเข้าสู่ระบบ M-Pass ก็มีให้คุณเลือกด้วยกัน 2 ช่องทางประกอบด้วย ช่องทางแรกหากต้องการเติมเงินผ่าน Tag จะต้องเติมเงินขั้นต่ำในตอนแรก 300 บาท และครั้งต่อไปขั้นต่ำครั้งละ 100 บาท โดยสามารถเติมเงินสูงสุดได้ไม่เกิน 5 พันบาทต่อครั้ง และมียอดเงินคงเหลือสูงสุดไม่เกิน 1 หมื่นบาท ส่วนใครที่สะดวกเติมเงินผ่าน e-Money จะมีขั้นต่ำเพียง 100 บาท และมีการทำธุรกรรม และยอดเงินคงเหลือไม่เกิน 30,000 บาทต่อบัตร

การใช้งาน M-Pass

หลังจากที่มีสมัครใช้งานระบบ M-Pass มีบัตรเอ็มพาส และเติมเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้วคุณก็พร้อมที่จะใช้งานระบบ M-Pass ในการเดินทางไปยังจุดหมายต่างๆ ของคุณได้แล้ว โดยขั้นตอนการใช้งานผ่านช่องทางบริการ M-Pass ได้แก่ ขับรถมายังช่องทางบริการที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในช่องทางด้านขวามือ โดยขับรถไปที่ช่องที่มีตัวอักษรเขียนคำว่า M-Pass ภายใต้ความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรักษาระยะห่างระหว่างรถคันหน้าประมาณ 5 เมตร เมื่อรถคันหน้าเคลื่อนตัวผ่านช่อง M-Pass คุณจึงขับรถตรงมายังบริเวณที่เครื่องแสดงค่าผ่านทาง หลังจากนั้นเงินในระบบบัญชีของคุณจะถูกตัดโดยอัตโนมัติ เพื่อเป็นการจ่ายค่าบัตร M-Pass ซึ่งคุณไม่ต้องเสียเวลาหยับเงินในกระเป๋าตังแม้แต่วินาทีเดียว เรียกได้ว่าสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบายจริงๆ เพียงเท่านี้การใช้งาน M-Pass ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด

M-Pass กับ Easy Pass ต่างกันยังไง

ที่มา :

หลายคนคงเคยได้ยินทั้ง M-Pass และ Easy Pass มาบ้าง บางคนอาจจะกำลังสับสนอยู่ว่าสองบัตรนี้เหมือนกันมั้ย ต่างกันยังไง แล้วบัตรไหนจะเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณมากกว่ากัน คุณสามารถพบกับคำตอบได้หลังจากนี้

ข้อเหมือนกันระหว่าง M-Pass กับ Easy Pass

ทั้ง M-Pass และ Easy Pass มีลักษณะที่เหมือนกันอยู่ คือ ทั้งคู่ประกอบด้วย Tag สำหรับติดหน้ากระจกรถยนต์ เพื่อใช้ในการผ่านทางเหมือนกัน รวมไปถึงเป็นบัตรที่ทำมาจากวัสดุพลาสติกแข็งเหมือนกันอีกด้วย ส่วนความเหมือนอีกอย่าง ได้แก่ ทั้งคู่มีจะมีราคาเท่ากัน ก็ต่อเมื่อเติมเงินค่าผ่านทางล่วงหน้าขั้นต่ำ 1,000 บาทนั่นเอง

ข้อต่างกันระหว่าง M-Pass กับ Easy Pass

ส่วนความต่างกันระหว่าง M-Pass กับ Easy Pass นั้นต่างกันตรงที่บัตรเอ็มพาสจะมีบัตรเติมเงิน KTB e-Money ของธนาคารกรุงไทย เพื่อใช้เติมเงินเข้าระบบ M-Pass และเพื่อสามารถใช้ในการจ่ายค่าบัตร M-Pass การชำระค่าสินค้า และบริการที่มีตรา VISA ได้ทั่วประเทศไทยนั่นเอง

ความแตกต่างด้านช่องทางการเติมเงิน ได้แก่ การเปิดบัญชีบัตร Easy Pass นั้นทำได้ที่อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ฉลองรัช, บูรพาวิถีได้ทุกด่านก็จริง แต่เปิดบัญชีที่อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษกาญจนาภิเษก และทางพิเศษศรีรัชได้แค่บางด่านเท่านั้น รวมไปถึงเปิดบัญชีที่อาคารสำนักงานใหญ่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, จุดพักรถของปั๊มปตท. บริเวณบางนา ขาออก, ศูนย์บริการลูกค้าของบริษัท BEM หรือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นั่นเอง ต่างจากการเปิดบัญชี M-Pass ที่มีจุดเด่น คือ สามารถสมัครได้ทั้งที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาเพียงสมัครและเติมเงินครั้งแรก 1,000 บาทต่อบัตร แค่นี้ก็ได้รับบัตรไปทันที รวมไปถึงสามารถสมัคร M-Pass ออนไลน์ได้ที่แอปพลิเคชั่น KTB NetBank โดยธนาคารจะจัดส่งกล่องสิทธิประโยชน์ชุดบัตร M-Pass, Tag และซองรหัสผ่านไปถึงหน้าบ้านคุณ ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับธนาคารนั่นเอง

ดังนั้นแล้วการเลือกสมัครเปิดบัญชี และใช้บริการของ M-Pass หรือ Easy Pass นั้นขึ้นอยู่กับคุณว่าสะดวกเติมเงิน หรือใช้บริการของช่องทางการเติมเงินไหนมากกว่ากัน

 

M-Pass กับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันพวกเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก ก่อให้เกิดการนิยามศัพท์วิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal ขึ้นมา โดยระบบ M-Pass เองก็มีการพัฒนาปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และสืบต่อไปในอนาคตเช่นกัน

เมื่อปีที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้กรมทางหลวง และธนาคารกรุงไทยได้ร่วมกันจัดตั้งแคมเปญ “ลดใช้เงินสด ลดเสี่ยงโควิด -19 ด้วย M-Pass” ขึ้นมาเพื่อมุ่งหวังให้คนไทยลด ละเลิกการใช้เงินสด แต่หันมาใช้บัตร M-Pass ในการจ่ายค่าผ่านทางด่วนแทน (M-Pass ทางด่วน) เพื่อเป็นการลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสผ่านการสัมผัส ซึ่งแคมเปญนี้ได้มีจุดเด่น หรือจุดขาย คือ เติมเงิน 1,000 บาทคุณจะได้รับเครดิตเงินคืนกลับมา 150 บาททันที โดยแคมเปญดังกล่าวถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา

โดยในปีพ.ศ. 2566 หรือ ค.ศ. 2023 นี้กรมทางหลวง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกันในเรื่องการพัฒนาช่องทางการชำระเงินรูปแบบใหม่ของประเทศไทย ได้แก่ ระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น หรือเรียกสั้นๆ ว่า M-Flow โดยเชื่อมกับระบบตัดบัญชีเงินสำรองของบัตร M-Pass และร่วมกับบัตร Easy Pass ด้วยเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าจะมีบัญชีผู้ใช้มากถึง 2.5 ล้านราย ซึ่งปัจจุบันจำนวนผู้ใช้บริการระบบ M-Pass ของมอเตอร์เวย์มีสมาชิกประมาณ 8 แสนบัญชี และใช้งานประจำสูงถึง 2 แสนรายต่อวันเลยทีเดียว ทั้งนี้การร่วมมือระหว่าง
M-Pass และ M-Flow มีด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่ พัฒนาช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางของระบบ M-Flow ผ่านการตัดเงินในบัญชีบัญชี M-Pass แบบอัตโนมัติ, ส่งเสริมให้ผู้ที่มีบัตร M-Pass มาสมัครสมาชิก M-Flow ทั้งจาการส่งแบบฟอร์ม, เชิญชวน, เอกสารแนะนำ รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เป็นต้น และความร่วมมือสุดท้าย คือ การพัฒนาช่องทางการลงทะเบียนเป็นสมาชิก M-Flow สำหรับผู้ที่มีบัตรเอ็มพาสอยู่แล้วให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว ไม่ติดขัดในการสมัครสมาชิกใหม่

ความแตกต่างระหว่าง M-Pass กับ M-Flow

เมื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2566 นี้จากการมาของ M-Flow แล้วหลายคนคงอยากจะทราบว่าทั้ง M-Pass และ M-Flow นั้นแตกางกันอย่างไรบ้าง รายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้

รายการ M-Pass M-Flow
1. ระบบทางกายภาพ ระบบไม้กั้นที่ช่องเก็บค่าผ่านทาง ไม่มีไม้กั้นที่ช่องเก็บค่าผ่านทาง
2. การชะลอความเร็วของรถ ต้องชะลอความเร็วหากไม้กั้นไม่ทำงาน ไม่ต้องชะลอความเร็วของรถยนต์ สามารถขับได้สูงสุด 120 กม./ชม.
3. การชำระค่าผ่านทาง ต้องใช้ Tag ติดกับตัวรถ เพื่อรับส่งสัญญาณในการชำระเงิน ใช้เทคโนโลยี Video Tolling ระบบกล้องตรวจจับป้ายทะเบียน
4. ประเภทของรถยนต์ที่รองรับ รองรับเฉพาะรถยนต์ 4 ล้อ ใช้ได้กับรถทุกประเภทบนมอเตอร์เวย์
5. การเติมเงิน และชำระเงิน ชำระค่าผ่านทางได้ก็ต่อเมื่อมีเงินในบัญชี โดยต้องเติมเงินเข้า Tag ล่วงหน้า มีรูปแบบ และช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย

 

แคมเปญของ M-Pass ประจำปีพ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023)

นอกเหนือจากการร่วมมือกับ M-Flow แล้วในปีพ.ศ. 2566 หรือ ค.ศ. 2023 นี้กรมทางหลวง และธนาคารกรุงไทยได้ปล่อยแคมเปญประจำปี ได้แก่ สิทธิพิเศษเพียงลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกของ M-Flow โดยเลือกใช้การชำระเงินด้วยบัญชี M-Pass จำกัด 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์ ก็จะได้รับโบนัสพิเศษค่าผ่านทางเป็นจำนวน 100 เข้าบัญชี M-Pass ของคุณโดยทันที โดยมีระยะเวลาถึงสิ้นเดือน มีนาคม พ.ศ. 2566 เท่านั้น โดยคุณสามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน M-Pass โทร. 1586 กด 9

ข้อดีข้อเสียของ M-Pass

เมื่อทราบถึงความเป็นมาของ M-Pass, วิธีการสมัคร M-Pass, การใช้งานบัตรเอ็มพาส รวมไปถึงทราบว่า M-Pass กับ Easy Pass ต่างกันยังไงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปจากนี้จะกล่าวสรุปถึงข้อดีข้อเสียของ
M-Pass เพื่อช่วยให้การตัดสินใจของคุณง่ายยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้อดีของ M-Pass 

  1. ตัวช่วยให้การเดินทางของคุณประหยัดเวลามากยิ่งขึ้นด้วย Tag ของ M-Pass
  2. ตัวช่วยให้คุณสามารถเลี่ยงปัญหาการจราจรที่ติดขัดบริเวณด้านหน้าด่านช่องปกติได้
  3. สามารถใช้บัตร M-Pass ในการชำระค่าผ่านทางได้ทั้งทางหลวงพิเศษ มอเตอร์เวย์ และทางด่วนทุกเส้นทาง
  4. เติมเงิน ทำธุรกรรมง่ายๆ เพียงใช้จ่ายผ่านบัตร M-Pass (e-Money) ในการเติมเงิน และชำระค่าบริการ
  5. สามารถเติมเงินได้อย่างง่ายดายผ่านธนาคารกรุงไทยทั้งแบบออฟไลน์ และออนไลน์ รวมไปถึงตู้บุญเติม
  6. เปิดบัญชีได้ง่ายหลากช่องทางทั้งออฟไลน์ และสมัคร M-Pass ออนไลน์
  7. บัตร M-Pass บัตรเดียวได้ถึง 2 กระเป๋าตัง ได้แก่ M-Pass ใช้สำหรับชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางบนมอเตอร์เวย์และทางด่วน (M-Pass ทางด่วน) และกระเป๋าอีกใบ ได้แก่ e-Money เพื่อใช้สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องตู้ ATM และสำหรับชำระค่าบริการต่างๆ ตามร้านค้าที่เข้าร่วม

ข้อเสียของ M-Pass 

    1. บางครั้งอาจพบปัญหารถยนต์คันข้างหน้าชำระเงินค่าผ่านทาง M-Pass ไม่ผ่านส่งผลให้คุณจำเป็นที่จะต้องถอยเข้าถอยออก หรือต้องไปใช้ช่องทางอื่น
    2. อาจพบปัญหาทางเทคนิคที่เครื่องไม่ตัดเงินในบัญชี M-Pass ของคุณ
  • ต้องมีเงินในบัญชีเพียงพอสำหรับการชำระค่าผ่านทาง หากลืมเติมเงินเข้าบัญชีอาจทำให้การเดินทางล่าช้ากว่าปกติได้

อ้างอิง

https://www.thaim-pass.com/home

https://www.thaim-pass.com/thailand/news/m-pass-mobile-banking

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9590000108966