คนว่างงานเช็คด่วน เปิดลงทะเบียนว่างงานพร้อมรับสิทธิต่างๆ ตรวจสอบเอกสารลงทะเบียนว่างงานและเงื่อนไขออนไลน์

สารบัญ

  1. ลงทะเบียนว่างงาน

ที่มา :

เกริ่นนำ

โลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และยากที่จะคาดการณ์ได้ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันก็ไม่แน่นอน สินค้าบางชนิดมีการปรับราคาที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อปีก่อน บางธุรกิจเกิดการ Disruption ส่งผลให้มีประชากรชาวไทยจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับปัญหาตกงาน ซึ่งนำไปสู่ “การว่างงาน” นั่นเอง

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วหากคุณกำลังว่างงาน และมีแผนที่จะลงทะเบียนว่างงาน และหรือลงทะเบียนคนว่างงานอยู่นั้น คุณไม่ต้องกังวลใจไป ภาครัฐบาลได้มีการเปิดลงทะเบียนว่างงาน สำหรับผู้ที่จัดให้อยู่ในประเภทผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งจ่ายเงินมาตลอดระยะเวลา 15 เดือน หรือ 1 ปีกับอีก 3 เดือนก่อนที่คุณจะว่างงาน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่างงานมาแล้วไม่ต่ำกว่าครึ่งปี หรือ 6 เดือน โดยที่ไม่จำเป็นจะด้วยเหตุผลที่ลาออกจากงานเอง หรือถูกยกเลิกการจ้างงานก็ตามในระยะเวลาที่กำหนดไว้ รวมถึงหากคุณไม่ได้กระทำความผิดตามกฎหมาย ความโชคดีจะหล่นทับคุณ เพราะคุณสามารถขอรับสิทธิผู้ประกันตน กรณีว่างงานได้ สิทธิประโยชน์ดังกล่าวสามารถขอรับเงินชดเชยได้ ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของการลงทะเบียนว่างงานนั้น จะขออธิบายเกี่ยวกับผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้คุณได้เข้าใจอย่างง่ายๆ เสียก่อน

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือ ผู้ที่มีนายจ้าง หรือผู้ที่ทำงานเป็นพนักงานประจำอยู่ในบริษัท หรือสถานประกอบการที่มีจำนวนลูกจ้างหนึ่งคนขึ้นไป ซึ่งจะได้ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ประกอบด้วย ประสบอันตรายหรือบาดเจ็บ หารคลอดลูก พิการทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงานนั่นเอง

เงื่อนไขการรับเงินชดเชยสำหรับคนว่างงานตามระเบียบผู้ประกันตนมาตรา 33

ที่มา :

ก่อนที่จะทราบถึงขั้นตอนการลงทะเบียนว่างงาน และหรือ การลงทะเบียนคนว่างงาน และขั้นตอนการลงทะเบียนรายงานตัวว่างงานนั้น หากคุณกำลังว่างงานอยู่คุณจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบว่าคุณอยู่ภายใต้เงื่อนไขการรับเงินชดเชยหรือไม่ โดยเงื่อนไขการรับเงินชดเชย กรณีเป็นคนว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มีด้วยกันทั้งสิ้น 8 ข้อเริ่มต้นที่ 

  1. หลังจากที่คุณว่างงาน คุณต้องรีบไปลงทะเบียนว่างงาน โดยการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายในระยะเวลา 1 เดือนหรือ 30 วันโดยทันที ทั้งนี้คุณไม่จำเป็นจะต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงานแม้แต่เล่มเดียว
  2. เมี่อรับรู้ถึงระยะเวลาแล้ว คุณต้องมั่นใจว่าตัวเองเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการทำงาน อีกทั้งมีความพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเต็มที่ และเหมาะสม
  3. ห้ามปฏิเสธการฝึกงานเด็ดขาด
  4. ภายในหนึ่งเดือน คุณจะต้องไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานจัดหางานมากกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
  5. ทางสำนักงานจะตรวจสอบว่ากรณีที่คุณว่างงานนั้นไม่ได้มาจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ซึ่งได้แก่ การประพฤติผิดการกระทำทุจริต, การกระทำผิดกฎหมายอาญาโดยมีเจตนากระทำต่อนายจ้าง, ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างจงใจ, กระทำความผิดฝ่าฝืนกฎระเบียบที่ถูกกำหนดไว้ในการทำงาน หมายรวมถึงข้อบังคับต่างๆ ที่ชอบด้วยกฎหมาย, ทิ้งงาน ละทิ้งหน้าที่ส่วนตัวติดต่อกันเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์ หรือ 7 วัน โดยที่ไม่มีเหตุผลที่สมควร, ประพฤติตนอย่างประมาทอันส่งผลให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง
  6. กรณีที่คุณมีอายุมาก หรือชราภาพ คุณจะต้องไม่ใช้ผู้ที่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทน
  7. เมื่อผ่านพ้นนับจากวันที่เริ่มว่างงานเป็นจำนวน 8 วันแล้ว คุณถึงมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน
  8. และสุดท้ายคุณต้องไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 นั่นเอง

โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่กล่าวไปเมื่อสักครู่นั้น คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ซึ่งเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน ประกอบกับเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปี แล้วปัจจุบันลาออกจากงานไม่เกินครึ่งปี หรือ 6 เดือน แต่ที่สำคัญ คือ ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมลงทะเบียนว่างงาน ภายใต้ความคุ้มครอง 6 กรณี ประกอบด้วย ความคุ้มครองที่เกิดจากการประสบอันตราย และหรือเจ็บป่วย, การคลอดบุตรธิดา, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, การสงเคราะห์บุตร และการชรานั่นเอง

หลักฐานสำคัญที่จำเป็นในการลงทะเบียนว่างงานสำหรับการขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน

เมื่อทราบถึงเงื่อนไขการรับเงินชดเชย เมื่อลงทะเบียนว่างงานแล้ว ต่อมาคุณต้องเตรียมเอกสารลงทะเบียนว่างงาน และหลักฐานสำคัญสำหรับลงทะเบียนว่างงาน หลายอย่างเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทน โดยมีหลักฐานที่จำเป็นหลักๆ 6 อย่าง อย่างแรกเลยสำคัญมากๆ ขาดไม่ได้เลยต้องมีแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน หรือที่เรียกว่า สปส. 2-01/7 หลักฐานต่อมาก็สำคัญเช่นกัน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนคู่กันไปกับสำเนาบัตรประชาชนที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง, หนังสือการรับรองการออกจากงาน หรือเป็นสำเนาการแจ้งการลาออกของผู้ประกันตนก็ได้เช่นกัน โดยหลักฐานนี้เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า สปส. 6-09, ถ้ามีหนังสือของนายจ้างที่ให้ออกก็จจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง, สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์โดยถ่ายสำเนาหน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ประกันตนมานั่นเอง และหลักฐานสุดท้ายเพื่อให้การขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานสมบูรณ์ ได้แก่ รูปถ่ายขนาด 1 นิ้วที่ถ่ายไว้ไม่เกินครึ่งปี จำนวน 1 รูปเท่านั้น

การลงทะเบียนว่างงาน

ที่มา : 

หลังจากที่คุณเตรียมเอกสารลงทะเบียนว่างงาน และหลักฐานสำคัญสำหรับลงทะเบียนว่างงาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณคงเกิดคำถามว่าขั้นตอนการลงทะเบียนว่างงานต้องทำอะไรบ้าง? สามารถลงทะเบียนว่างงานที่ไหนได้บ้าง? รวมไปถึงสามารถลงทะเบียนคนว่างงานทางอินเตอร์เน็ตได้มั้ย

การลงทะเบียนว่างงานในปีพ.ศ. 2566 หรือปีค.ศ. 2023 มีให้คุณเลือกถึง 3 แบบด้วยกัน ประกอบด้วยการลงทะเบียนว่างงานแบบเดินทางไปยื่นเอกสารด้วยตนเอง, การลงทะเบียนคนว่างงานทางอินเตอร์เน็ต และการลงทะเบียนคนว่างงานในช่วงยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

การลงทะเบียนว่างงานแบบเดินทางไปยื่นเอกสารด้วยตนเอง

ที่มา :

เริ่มกันที่การลงทะเบียนรายงานตัวว่างงานแบบแรกกันก่อน ซึ่งเป็นการลงทะเบียนว่างงานแบบดั้งเดิมโดยการเดินทางไปยื่นเอกสารด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคม ประกอบไปด้วย 9 ขั้นตอนดังนี้

  1. เมื่อเดินทางถึงสำนักงานประกันสังคมแล้ว ให้คุณไปขึ้นทะเบียนที่สำนักงานจัดหางาน
  2. จากนั้นให้คุณกรอกรายละเอียดแบบฟอร์มของใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน กรณีว่างงาน พร้อมทั้งแนบหลักฐานที่เตรียมมาทั้งบัตรประชาชน และสำเนาถูกต้อง บวกกับรูปถ่ายของคุณขนาด 1 นิ้วจำนวน 1 รูปด้วยกัน
  3. เสร็จจากกรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน กรณีว่างงานแล้ว ให้คุณกรอกรายละเอียดในแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานด้วย นอกจากกรอกแล้วคุณจำเป็นที่จะต้องแนบหนังสือรองรับการออกจากงาน (สปส. 6-09) หรือจะยื่นหนังสือของนายจ้างที่ให้ออกจากงานก็ได้เหมือนกัน พร้อมทั้งแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรกพร้อมกันไปด้วย
  4. หลังจากกรอก และยื่นหลักฐานที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว เจ้าหน้าที่จะสัมภาษณ์คุณให้ทราบถึงประวัติการทำงาน และตรวจสอบคุณสมบัติของคุณเช่นกัน
  5. เมื่อสัมภาษณ์เสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะเสนอตำแหน่งงานมาให้คุณพิจารณา 3 ตำแหน่งงานด้วยกัน ซึ่งคุณมีตัวเลือกในการตัดสินใจที่จะฝึกอบรม หรือปฏิเสธตำแหน่งงานที่เจ้าหน้าที่จัดหาให้ได้ หมายรวมไปถึงมีสิทธิที่จะไม่ไปฝึก และไม่ไปรายงานตัวตามวันที่กำหนดได้ แต่จะส่งผลให้ทางสำนักงานประกันสังคมไม่จ่ายเงินทดแทนแก่คุณโดยทันที
  6. ระหว่างนี้เจ้าหน้าที่จะบันทึกสถานะการว่างงานของคุณให้อยู่ในระบบฐานข้อมูลกลาง
  7. เจ้าหน้าที่จะเอาข้อมูล ประวัติการทำงาน และคุณสมบัติของคุณมาตรวจทานว่าตรงตามเงื่อนไขของทางสำนักงานหรือไม่
  8. ถ้าคุณผ่านเงื่อนไขทั้งหมด สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนให้คุณตามข้อกำหนัด เป็นจำนวนเดือนละหนึ่งครั้ง
  9. ทั้งนี้หากคุณไม่พอใจในคำสั่งการจ่ายเงินทดแทน คุณมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือน หรือ 30 วันนับจากวันที่ได้รับคำสั่งแจ้งนั่นเอง

สุดท้ายนี้หากคุณมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายบละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สํานักงานประกันสังคมทุกแห่ง หรือทางออนไลน์ได้ที่ www.sso.co.th หรือแม้กระทั่งโทรไปสอบถามสายด่วน 1506 ตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมง

การลงทะเบียนคนว่างงานทางอินเตอร์เน็ต

ที่มา :

นอกเหนือจากการไปลงทะเบียนรายงานตัวว่างงานด้วยตนเองที่สำนักงานแล้ว ในปัจจุบันปีพ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) นี้ ยังมีวิธีการลงทะเบียนคนว่างงานทางอินเตอร์เน็ต หรือทางเว็บไซต์ออนไลน์อีกด้วย ซึ่งมีขั้นตอนการลงทะเบียนว่างงาน และการลงทะเบียนคนว่างงานทางอินเตอร์เน็ต ดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th ของกรมจัดหางาน 
  2. ลงทะเบียนเข้าใช้งานในเว็บไซต์ 
  3. หลังจากลงทะเบียนเข้าสู่ระบบแล้ว จะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมาเพื่อให้คุณได้อ่านรายละเอียด และท้ายของหน้าต่างจะมีปุ่มให้คุณกดยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว

ขั้นตอนต่อไป คือ กรอกรายละเอียดตามบัตรประชาชนของคุณอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง และตรวจทานว่าครบถ้วนหรือไม่ เมื่อกรอกครบแล้วให้กดที่ปุ่มตรวจสอบข้อมูล ข้อควรระวังของขั้นตอนนี้ คือ การที่เลขศูนย์ (0) และตัวโอ (O) มีลักษณะใกล้เคียงกัน

  1. ต่อไปจะเป็นหน้าให้กรอกข้อมูลส่วนตัวของคุณ ทั้งนี้คุณต้องจำ Username และ Password หรือรหัสผ่านสำหรับใช้เข้าระบบในครั้งต่อๆ ไปให้ได้ 
  2. หากกรอกข้อมูลครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว คุณมีหน้าที่กดปุ่มดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน กรณีว่างงาน 
  3. เมื่อกดปุ่มดำเนินการแล้ว ให้คุณเลือกหนังสือรับรองการลงทะเบียนว่างงาน เพื่อไว้สำหรับการนัด และรายงานตัวในภายหน้า ประกอบด้วยใบนัดรายงานตัว และแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7 นั่นเอง ทั้งนี้ให้คุณกดพิมพ์แบบคำขอดังกล่าวเพื่อไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมตามวัน และเวลาที่นัดหมายไว้

เพียงเท่านี้การลงทะเบียนว่างงาน ในรูปแบบของการลงทะเบียนคนว่างงานทางอินเตอร์เน็ตก็เป็นอันเสร็จสิ้น โดยเอกสารที่ต้องเตรียมไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคม ประกอบด้วย แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7, สำเนาบัตรประชาชนของคุณพร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง และเอกสารสุดท้ายสำหรับลงทะเบียนว่างงาน ได้แก่ สำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่ชื่อบัญชีตรงกับชื่อคุณ โดยเอามาเฉพาะสำเนาหน้าแรก

 

การลงทะเบียนคนว่างงานทางอินเตอร์เน็ตในช่วงโควิด 19

ที่มา : 

สืบเนื่องจากที่กล่าวเรื่องสถานการณ์ในปัจจุบันคนว่างงานเป็นจำนวนมากหลังจากเผชิญกับวิกฤตการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตสืบเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2019 เรื่อยมาจนถึงปี 2023 หรือพ.ศ. 2566 นั่นเอง 

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว ทางสำนักงานประกันสังคมก็ไม่นิ่งนอนใจ โดยมีมาการเปิดให้ลงทะเบียนรับเงินชดเชย เพื่อช่วยเหลือคนว่างงานทั่วประเทศ ซึ่งจะได้รับเงินสูงสุดมากกว่า 7,500 บาทต่อเดือน แต่ต้องทำตามเงื่อนไข และขั้นตอนดังนี้

เงื่อนไข และขั้นตอนการขอรับเงินชดเชย จากการลงทะเบียนว่างงาน กรณีว่างงานในช่วงกฤตการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ขั้นตอนการลงทะเบียนว่างงาน และขอรับเงินชดเชยในช่วงโควิด-19 มีด้วยกัน 3 หัวข้อหลักๆ ได้แก่ กรณีภาครัฐสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว, กรณีผู้ประกันตนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลให้ไม่ได้ทำงาน หรือถูกนายจ้างยกเลิกไม่ให้ทำงาน และหัวข้อสุดท้ายการยื่นเอกสาร ผ่านช่องทางอื่น ๆ ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดภายหลัง

กรณีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราวจากภาครัฐ 

กรณีที่ภาครัฐได้สั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว มีเงื่อนไข และขั้นตอนการขอรับเงินชดเชย กรณีว่างงาน ในช่วงโควิด-19 ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ประกันตน กรณีว่างงานจะได้รับเงินชดเชยจากสำนักงานประกันสังคมเป็นจำนวนร้อยละ 50 (วงเงิน ไม่เกิน 7,500 บาท) ซึ่งจะได้รับภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน หรือ 60 วันนั่นเอง
  2. จำเป็นที่จะต้องใช้ สปส. 2-01/7 หรือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน
  3. กรณีที่นายจ้างใอนุญาตให้คุณทำงานตามระยะเวลาการกักตัวตามนโยบายของภาครัฐจำนวน 14 วัน นายจ้างจะต้องรับรองการเป็นลูกจ้างของคุณ และต้องระบุวันที่ลูกจ้างไม่สามารถปฏิบัติงานได้จริง โดยคุณสามารถยื่นคำขอผู้ประกันตน และนายจ้างได้ทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://www.sso.go.th/eform_news/e_form.html เพื่อกรอกแบบฟอร์มออนไลน์

กรณีผู้ประกันตนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลให้ไม่ได้ทำงาน หรือถูกนายจ้างยกเลิกไม่ให้ทำงาน

กรณีผู้ประกันตนไม่ได้ปฏิบัติงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) มีเงื่อนไข และขั้นตอนการขอรับเงินชดเชย กรณีว่างงาน ในช่วงโควิด-19 ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ประกันตน กรณีว่างงานจะได้รับเงินชดเชยจากสำนักงานประกันสังคมเป็นจำนวนร้อยละ 50 (วงเงินไม่เกิน 7,500 บาท) ซึ่งจะได้รับภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือ 180 วันนั่นเอง
  2. ต้องเป็นผู้ประกันตน และจะต้องลงทะเบียนรายงานตัวว่างงาน หรือไปรายงานตัวเดือนละครั้งที่เว็บไซต์ www.empui.doe.go.th พร้อมกัยยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ในรูปแบบของแบบฟอร์มออนไลน์บนเว็บไซต์ www.sso.co.th

ชื่องทางอื่นสำหรับยื่นเอกสาร คำขอเรื่องต่างๆ 

คุณสามารถยื่นเอกสาร คำขอเรื่องต่างๆ ได้จากช่องทางอื่นที่ใช่จากเว็บไซต์ www.sso.co.th โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  1. ยื่นเอกสารด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมทุกสาขาทั่วไทย
  2. ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ หรือส่ง Fax มาที่สำนักงานประกันสังคม (ที่อยู่สำนักงานประกันสังคม (สำนักงานใหญ่) คือ เลขที่ 88/28 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000)
  3. หากใครสะดวกช่องทางออนไลน์สามารถส่งเอกสารผ่าน E-mail เข้ามาที่สำนักงานประกันสังคม ([email protected]) รวมไปถึงสามารถส่งผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ที่บัญชีสำนักงานประกันสังคมได้เช่นกัน โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ้ค ““สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานนั่นเอง

สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 กรณีว่างงานจะได้รับ

เมื่อทราบถึงเงื่อนไข ขั้นตอนการลงทะเบียนว่างงานทั้งแบบไปยื่นเอกสารด้วยตนเองที่สำนักงาน และรูปแบบออนไลน์บนเว็บไซต์แล้ว มาถึงส่วนที่ทุกคนอยากจะทราบเป็นที่สุดซึ่งก็คือ สิทธิประโยชน์ที่คุณจะได้รับกรณีว่างงาน เมื่อคุณเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ประกอบด้วยกัน 3 กรณี ได้แก่ กรณีคุณถูกยกเลิกจ้างงาน, กรณีที่คุณหมดสัญญาการว่าจ้างงานตามระยะเวลาที่ระบุในสัญญา และกรณีที่คุณลาออก

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ กรณีถูกเลิกจ้างงาน

เมื่อคุณถูกเลิกจ้างงาน คุณจะได้รับเงินทดแทนในช่วงที่คุณว่างงานไม่เกิน 180 วันต่อปี ในอัตรา 50 เปอร์เซนต์ของค่าจ้างโดยเฉลี่ย ทั้งนี้จะคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำมูลค่าเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดมูลค่าไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งสามารถยกตัวอย่างอธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ว่าสมมติคุณได้รับเงินเดือน 20,000 บาท คุณก็จะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 10,000 บาทนั่นเอง

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ กรณีหมดสัญญาการว่าจ้างงานตามระยะเวลาที่กำหนด

กรณีที่คุณหมดสัญยาการจ้างงานตามที่ระบุในสัญญา คุณจะได้รับเงินชดเชยในช่วงว่างงานไม่เกิน 90 วันต่อปี ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างโดยเฉลี่ย ทั้งนี้จะคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำมูลค่าเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดมูลค่าไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น สมมติคุณได้รับเงินเดือน 20,000 บาท คุณก็จะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 6,000 บาทนั่นเอง

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ กรณีลาออก

กรณีที่คุณลาออกจากงานที่เคยได้รับการว่าจ้าง คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคมลงทะเบียนว่างงานต่อไปได้อีกครึ่งปี โดยไม่เสียค้าจ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย ค่าทำฟัน, การคลอดลูก, กรณีพิการ รวมไปถึงกรณีเสียชีวิต 

โดยกรณีที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดต้องยื่นเรื่องรับเงินชดเชยภายในระยะเวลาหนึ่งปี ยกเว้นกรณีที่คุณว่างงาน และยังเป็นผู้ประกันตน คุณจำเป็นที่จะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงาน ตามแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนว่างงาน นับจากวันที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกเองเป็นระยะเวลา 30 วัน หรือหนึ่งเดือน

หากคุณยื่นสิทธิเกินกว่าจำนวนวันที่กำหนด คุณจะอดได้รับสิทธิใดๆ ไม่มีผลย้อนหลังด้วย รวมถึงคุณจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ หรือเงินชดเชยใดๆ กรณีว่างงาน

อ้างอิง

https://bestreview.asia/how-to/register-unemployment-get-money-from-social-security/

https://www.tidlor.com/th/article/financial/debt-management/unemployment-registration-process.html

https://www.tnnthailand.com/news/covid19/93355/

https://www.bangkokbiznews.com/news/958547