ดูวิธีลงทะเบียนซิมใหม่และการลงทะเบียนซิมออนไลน์พร้อมการเปิดใช้งานซิมง่ายๆทำได้ด้วยตัวเอง

สารบัญ

  1. ลงทะเบียนซิม

ที่มา :

ซิมคืออะไร?

หลายคนเคยอาจจะได้ยินชื่อซิม หรืออาจจะคุ้นหูคำว่าซิมการ์ดกันอยู่บ้าง แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ที่มาที่ไปของซิมว่ามาจากอะไร หรือว่าย่อมาจากอะไร

ซิมการ์ด (SIM Card) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า มอดูลระบุผู้ใช้บริการ หรืออีกชื่อนึงคือ มอดูลระบุผู้เช่า (Subscriber Identity / Identification Module) หมายถึง แผงวงจรรวมสำหรับบันทึกเลขประจำตัวสากลสำหรับผู้ชือมือถือ หรือผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นั่นเอง (International Mobile Subscriber Identity; IMSI) อีกทั้งภายในซิมการ์ดยังประกอบด้วย รหัสใช้เฉพาะตัว หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Personal Identification Number หรือเรียกสั้นๆ ว่า PIN ซึ่งเป็นคำที่เราคุ้นหูกันดีในปีพ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) ปีปัจจุบันนี้

ประวัติของซิมการ์ด

ซิมการ์ดมีจุดเริ่มต้นในการถูกกำหนดมาตรฐานครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2534 โดยกีเซคเกอุนด์เดฟรีเอนท์ (Giesecke & Devrient) จากสถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป มาตรฐานหมายเลข TS 11.11 โดยวัตถุประสงค์แรกของซิมการ์ดใช้สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเรดิโอลินยา (Radiolinja) ต่อมาเมื่อโลกมีระบบยูเอ็มทีเอส งานกำหนดมาตรฐานของซิมการ์ดจึงเกิดการย้ายไปยังทรีจีพีพี

รูปแบบของซิม

 ที่มา :

ซิมการ์ดในโลกปัจจุบันมีอยู่หลากหลายรูปแบบแบ่งตามขนาดตั้งแต่ขนาดนาโน มินิ ไมโคร ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่สุดมีขนาดประมาณบัตรประชาชน

ซึ่งในปัจจุบันซิมการ์ดที่ขนาดเป็นที่นิยมจะมีขนาดเท่ากับบัตรประจำตัว เพียงแต่มีรอยปรุเล็กๆ เพื่อคุณสามารถแยกซิมการ์ดออกเป็นชิ้นขนาดเล็กเพื่อใส่ไปในมือถือของคุณได้นั่นเอง โดยในปัจจุบันบริษัทโทรศัพท์หลายบริษัทยังคงผลิตซิมการ์ดออกมาให้มีความหนาพอสมควร ไม่บางเกินไป และไม่หนาเทอะทะจนเกินไป เพื่อดึงดูดผู้ซื้อมากมายทั่วโลก

ประเภทของซิม

ซิมโทรศัพท์ที่พวกเราใช้กันตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปีพ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) นี้มีด้วยกัน 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ซิมท้องถิ่น (Local Sim) และซิมโรมมิ่ง (Roaming Sim)

Local Sim

ซิมท้องถิ่น หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Local Sim นั้นเป็นซิมที่ถูกเปิดให้บริการ และมีคลื่นส่งสัญญาณโดยเฉพาะของแต่ละประเทศ โดยซิมประเภทนี้สามารถหาซื้อได้ที่สนามบินภายในประเทศนั้นๆ เหมาะแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังต่างแดน

ข้อดีของซิมท้องถิ่น

ซิมท้องถิ่นที่ใช้บริการภายในประเทศสามารถจับคลื่นสัญญาณได้ดี เพราะมีสเปค หรือคุณสมบัติที่ถูกผลิตขึ้นโดยผู้ให้บริการที่เป็นเจ้าของคลื่นสัญญาณภายในประเทศโดยตรง ข้อดีนอกเหนือจากการจับสัญญาณแล้วยังมีโปรโมชั่น หรือแพ็กเกจที่หลากหลาย และมีค่าบริการถูกกว่าซิมโรมมิ่ง 

ข้อเสียของซิมท้องถิ่น

ซิมท้องถิ่นบางซิมมีขั้นตอนการลงทะเบียนซิมที่อาจจะยุ่งยาก ต้องใช้หลักฐานในการยืนยันตัวตนก่อนใช้งานซิม นอกจากนี้บางซิมใช้ได้เพียงอินเตอร์เน็ต ไม่สามารถใช้โทรเข้าหรือโทรออกได้ หากต้องการสื่อสารอาจต้องใช้ระบบออนไลน์ ไม่สามารถใช้เบอร์มือถือในการสื่อนสารได้ และข้อด้อยสุดท้าย ได้แก่ จากการที่เป็นซิมที่ให้บริการภายในประเทศ บางครั้งอาจจะไม่มีคู่มือการลงทะเบียนซิมโดยภาษานานาชาติ อาจมีแต่ภาษาท้องถิ่นนั่นเอง

Roaming Sim

ซิมโรมมิ่ง หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Roaming Sim นั้นเป็นซิมที่ใช้การจับสัญญาณ สามารถหาซื้อได้จากประเทศของตนเองก่อนเดินทางไปยังต่างประเทศ หรือหากใช้ซิมเดิมเวลาไปต่างประเทศก็สามารถขอใช้บริการโรมมิ่งได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์นั่นเอง

ข้อดีของซิมโรมมิ่ง

ข้อดีอย่างแรก คือ หาซื้อได้ง่าย และสามารถเปิดปิดได้อย่างอิสระเมื่อไปต่างประเทศ ส่งผลให้สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น และสะดวกสบาย สามารถใช้เบอร์มือถือเดิมได้ ไม่ต้องหาซื้อซิมเปลี่ยนเบอร์มือถือใหม่

ข้อเสียของซิมโรมมิ่ง

ความสะดวกสบายในการใช้แลกมาด้วยค่าบริการที่แพงกว่าซิมท้องถิ่น ทั้งการโทรเข้า-รับสาย ตลอดจนการใช้บริการอินเตอร์เน็ตออนไลน์อีกด้วย ข้อเสียต่อมา ได้แก่ การที่สัญญาณในบางประเทศอาจจะไม่เสถียรตามแต่ละประเทศ ตามแต่ละเครือข่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ ส่วนเรื่องของแพ็กเกจก็ใข้อจำกัดด้านการใช้งาน ทั้งด้านความเร็ว และปริมาณการใช้งานผ่านออนไลน์

ประโยชน์ของซิม

ซิมแต่ละประเภท แต่ละรูปแบบมีข้อดีข้อเสียที่ต่างกัน แต่โดยรวมแล้วซิมก็ถือว่าเป็นผลงานการประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ต่อพวกเรามากมาย เนื่องจากช่วยให้คุณสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกได้อย่างสะดวกสบาย พกพาสะดวก มีให้เลือกใช้หลากหลายตามแต่ไลฟ์สไตล์ของคุณ ตลอดจนช่วยให้การเดินทาง และการใช้ชีวิต ณ ต่างแดนของคุณไม่ต้องเป็นที่กังวลในด้านการสื่อสาร การทำงาน และการใช้ชีวิตที่ลำบากอีกต่อไป นอกเหนือจากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ซิมการ์ดยังสามารถทำตัวเป็นพื้นที่เก็บความจำสำรองให้กับมือถือของคุณอีกด้วย 

หลังจากที่คุณทราบความหมาย รูปแบบ ประเภท และประโยชน์ของซิมไปแล้วคุณคงเริ่มเกิดความสนใจในการใช้งานซิมมากยิ่งขึ้น และอาจเกิดคำถามที่ว่าคุณสามารถลงทะเบียนซิมเองได้ไหม ต่อจากนี้คุณจะได้ทราบถึงขั้นตอน วิธีการลงทะเบียนซิม ตลอดจนการยืนยันตัวตนในการใช้งานซิมการ์ด

การลงทะเบียนซิมใหม่

การเปิดซิมใหม่ หรือการลงทะเบียนซิมมีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 ครั้งนั้นเป็นการลงทะเบียนซิมแบบเติมเงิน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ได้ประกาศในปีพ.ศ. 2558 ว่าให้ประชาชนไปลงทะเบียนซิมใหม่เพื่อระบุตัวตนของคนใช้งานซิมแบบเติมเงิน เพื่อที่ว่าจะได้เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการนำซิมไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย หรือเป็นภัยต่อความมั่นคง ซ่งอาจส่งผลเสียต่อตัวผู้ใช้เอง ไปจนถึงระดับสาธารณะได้ 

วิธีการลงทะเบียนซิมการ์ดแบบเติมเงิน

เมื่อกล่าวถึงวิธีลงทะเบียนซิมการ์ดแบบเติมเงินนั้นมีให้คุณเลือก 2 ทางเลือก ประกอบด้วยทางเลือกแรกที่คุณต้องเดินทางไปที่ศูนย์บริการเครือข่ายที่คุณลงทะเบียนไว้ เช่น เอไอเอส (AIS), ดีแทค (Dtac), ทรูมูฟ (True), กสท โทรคมนาคม (CAT), ทีโอที (TOT) เป็นต้น โดยให้คุณนำรหัสที่ได้จากการกด *151*#  พร้อมกับบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบขับขี่ตัวจริงไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บริการดังกล่าว

ทางเลือกที่ 2 ได้แก่ การที่คุณนำรหัสที่ได้จากการกด *151*#  ประกอบกับบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (Passport) หรือใบขับขี่ของคุณตัวจริง ไปยังร้านค้า หรือตัวแทนจำหน่ายที่มีสัญลักษณ์ “กสทช. โทรคมนาคม 2 แชะ แวะลงทะเบียนซิม” ซึ่งเป็นร้านที่ไว้ใจได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลประจำตัวของคุณถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี 

หลังจากที่คุณเตรียมรหัสจากการกด *151*#  และหลักฐานยืนยันตัวตนของคุณครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว เจ้าหน้าที่จะใช้แอปพลิเคชันของกสทช. ที่มีชื่อว่า “2 แชะ” ของ กสทช. สำหรับลงทะเบียนยืนยันตัวตนของคุณผ่านหมายเลขมือถือแบบเติมเงิน เมื่อเสร็จสิ้นไม่มีอะไรผิดพลาดแล้วคุณจะได้รับข้อความจากระบบของแอปพลิเคชันว่า “คุณได้รับการลงทะเบียนซิมการ์ดเรียบร้อยแล้ว” นอกจากนี้วิธีการ และขั้นตอนในการลงทะเบียนซิมนี้ยังใช้เวลาไม่นาน บางครั้งใช้เวลาไม่ถึง 60 วินาทีด้วยซ้ำ สาเหตุมาจากความง่าย สะดวก รวดเร็ว และไม่มีความยุ่งยากจากการกรอกหลักฐาน เอกสารต่างๆ และที่สำคัญนั้นเป็นการลงทะเบียนซิมี่ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายของบริการแต่อย่างใด 

ทั้งนี้หากซิมเติมเงินยังไม่ได้ทำการลงทะเบียน เมื่อคุณกดโทรออกจากหมายเลข *151*# คุณจะได้รับข้อความตอบกลับมาว่า “รหัสลงทะเบียนผู้ใช้บริการเลขหมายของ [ชื่อเครือข่าย] ของท่านคือ [รหัสลงทะเบียน]” หรือหากซิมเติมเงินของคุณถูกนำไปลงทะเบียนซิมไว้ก่อนหน้านี้แล้ว คุณจะได้รับข้อความตอบกลับจากระบบว่า “[หมายเลขโทรศัพท์] ใช้มาแล้วเป็นจำนวน [จำนวนปี] [จำนวนเดือน] [จำนวนวัน] ด้วยบัตรเลขที่ [เลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก]” ของคุณนั่นเอง

เมื่อทราบถึงวิธีการลงทะเบียนซิมการ์ดแบบเติมเงินทั้ง 2 วิธีแล้ว หากบุคคลใดไม่ได้ลงทะเบียนซิมตามระยะเวลาที่กำหนด ซิมการ์ดของคนนั้นจะถูกระงับการใช้งาน หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าซิมดับนั่นเอง กล่าวคือ ไม่สามารถใช้งานทางออนไลน์ ไม่สามารถโทรเข้าออก ไม่สามารถส่งข้อความได้

ย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ. 2558 คุณสามารถตรวจสอบซิมการ์ดเติมเงินของคุณว่าลงทะเบียนซิมสำเร็จหรือไม่ ได้จากการโทรออกไปที่ *151*# แล้วรอการติดต่อกลับจากระบบเครือข่ายนั้นๆ เรียกได้ว่าสะดวกสบาย ใช้งานง่ายมากๆ 

การลงทะเบียนซิมใหม่จากเครือข่ายมือถือ

ในในปีพ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) ยุคสมัยปัจจุบันนี้คุณสามารถลงทะเบียนซิมด้วยตัวเอง หรือการเปิดซิมใหม่ ได้อย่างง่ายๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัสจากการเข้าไปที่เว็บไซต์ของเครือข่ายต่างๆ ในรูปแบบออนไลน์ที่สามารถลงทะเบียนซิมได้ง่ายๆ จากทุกที่ทุกแห่ง โดยภายในบทความนี้จะขอยกตัวอย่าง 3 เครือข่ายหลักของประเทศไทยอย่าง AIS, DTAC และ TRUE

ทั้งนี้การการลงทะเบียนซิมใหม่ ของแต่ละเครือข่ายคุณจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดใช้งานซิม ไม่ว่าจะเป็นบัตรประจำตัวประชาชน, สัญญาณโทรศัพท์ หรือสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ดี เป็นต้น

วิธีการลงทะเบียนซิมจากเครือข่าย AIS

วิธีลงทะเบียนซิมทั้งแบบลงทะเบียนซิมเอง และลงทะเบียนซิมออนไลน์ รวมถึงการเปิดใช้งานซิม และการยืนยันตัวตนลงทะเบียนซิมจากเครือข่าย AIS มีวิธีการขั้นตอน ดังนี้

 

การลงทะเบียนซิมจากเครือข่าย AIS ผ่านเว็บไซต์

การลงทะเบียนซิมออนไลน์ การเปิดใช้งานซิม และการยืนยันตัวตนลงทะเบียนซิมจากเครือข่าย AISผ่านเว็บไซต์มีรายละเอียดดังรูปด้านล่าง

ที่มา :  

จากรูปด้านบนมีทั้งหมด 6  ขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ การใส่ซิมการ์ดแล้วสแกน QR Code เพื่อลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบความถูกต้อง การถ่ายรูปบัตรประชาชนและถ่ายหน้าตัวเอง ไปจนถึงการยืนยันตัวตน และพร้อมใช้งาน เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเปิดใช้งานซิม AIS ได้แล้ว

 

การลงทะเบียนซิมจากเครือข่าย AIS ผ่านแอปพลิเคชัน myAIS

การลงทะเบียนซิมออนไลน์ การเปิดใช้งานซิม และการยืนยันตัวตนลงทะเบียนซิมจากเครือข่าย AISผ่านแอปพลิเคชัน myAIS มีรายละเอียดดังรูปด้านล่าง

ที่มา :  

จากรูปด้านบนมีทั้งหมด 7  ขั้นตอนเริ่มตั้งแต่คุณต้องมีแอปพลิเคชัน myAIS ซะก่อน จากนั้นให้ทำตามขั้นตอนวิธีการที่แอปฯบอกเรื่อยมาจนถึงการใส่เบอร์มือถือในการลงทะเบียนซิม ตลอดจนการยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชน เป็นอันเสร็จสิ้นพร้อมใช้งานได้ทันที

 

วิธีการลงทะเบียนซิมจากเครือข่าย DTAC

วิธีลงทะเบียนซิมทั้งแบบลงทะเบียนซิมเอง และลงทะเบียนซิมออนไลน์ รวมถึงการเปิดใช้งานซิม และการยืนยันตัวตนลงทะเบียนซิมจากเครือข่าย DTAC มีวิธีการขั้นตอนดังรูปด้านล่าง

ที่มา : 

จากรูปด้านบนมีทั้งหมด 7  ขั้นตอนเริ่มตั้งแต่การสแกน QR Code ตามรูปข้อ 1 ตามด้วยการสแกนบาร์โค้ดบนหน้าซองเติมเงินซิมการ์ดของคุณ จากนั้นให้คุณเลือกเอกสารที่ใช้สำหรับการยืนยันตัวตน จากนั้นให้ทำตามที่ระบบบอกไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายให้คุณกดยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข เป็นอันลงทะเบียนซิมเสร็จ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเปิดใช้งานซิม DTAC ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ทั้งนี้การลงทะเบียนซิมจากเครือข่าย DTAC มีเงื่อนไขในการเงื่อนไขการลงทะเบียนซิมด้วยตัวเอง ด้วยกัน 2 เงื่อนไข ประกอบด้วย การลงทะเบียนซิมเติมเงินด้วยตนเองผ่าน QR Code ต้องทำผ่านมือถือ และ/หรือผ่านแท็บเล็ตเท่านั้น นอกจากนี้ซิมที่ใช้ลงทะเบียนจำเป็นที่จะต้องเป็นซิมดีแทคเติมเงินที่ยังไม่หมดอายุการใช้งาน และที่สำคัญคือยังไม่เคยเปิดใช้มาก่อน 

สุดท้ายนี้ทางดีแทคมีบริการเพื่อช่วยเหลือคุณ โดยหากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติมคุณสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ดีแทคคอลเซ็นเตอร์ 1678 หรือทางเว็บไซต์ https://www.dtac.co.th/s/crf เพื่อทราบถึงรายละเอียดช่องทางการเติมเงินเข้าสู่ซิมของคุณ

วิธีการลงทะเบียนซิมจากเครือข่าย TRUE

วิธีลงทะเบียนซิมทั้งแบบลงทะเบียนซิมเอง และลงทะเบียนซิมออนไลน์ รวมถึงการเปิดใช้งานซิม และการยืนยันตัวตนลงทะเบียนซิมจากเครือข่าย TRUE มีวิธีการขั้นตอนดังรูปด้านล่าง

ที่มา :

จากรูปด้านบนมีทั้งหมด 6  ขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ การใส่ซิมการ์ดไปในเครื่องมือถือของคุณ การเข้าใช้งานโดยผ่านการสแกน QR Code ไปจนถึงการยืนยันตัวตน การยืนยันข้อมูลส่วนบุคคลจากบัตรประชาชน และการกรอก และสิ้นสุดกระบวนการด้วยการยืนยันตัวตนของคุณ เป็นอันเสร็จสิ้น เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเปิดใช้งานซิม TRUE ได้เป็นที่เรียบร้อย

วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) กับอุตสาหกรรมเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ

ในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ธุรกิจเกือบทุกประเภทได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนการเรียนออนไลน์ของนักเรียนนักศึกษา ไปจนถึงการทำงานในรูปแบบใหม่ อย่างการ “Work from Home” โดยในไตรมาสแรกของปีพ.ศ. 2563 เครือข่ายมือถือยักษ์ใหญ่ของไทยทั้ง 3 เจ้าได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง รายได้ลดลงเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสุดท้ายของปีพ.ศ. 2562

ที่มา : 

สาเหตุที่ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือมีรายได้ลดลง

  1. ผู้บริโภคมีรายได้ลดงลง ส่งผลให้ต้องมีการประหยัดการใช้บริการ แพ็กเกจของเครือข่ายลด หรือแม้กระทั่งยกเลิกบริการที่ไม่จำเป็น เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน
  2. มาตราที่ออกมาของกสทช. เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการสามารถขอรับสิทธิ์ในการใช้งานโทรฟรีเป็นเวลามมากถึงหนึ่งร้อยนาที และอินเทอร์เน็ตฟรีเป็นจำนวนมากถึง 10 กิ๊กกะไบต์ ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเติมเงินให้แก่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือไม่จำเป็นต้องซื้อแพ็กเกจอีกต่อไป
  3. จากการปิดเมือง ปิดประเทศไม่ให้มีการเดินทางเข้า-ออกประเทศไทย ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการท่องเที่ยว อันเป็นปัจจัยหลักในการยกเลิกแพ็กเกจต่างๆ ที่ผูกไว้กับเครือข่ายผู้ให้บริการสัญญาณมือถือ บางรายได้ยกเลิกเบอร์มือถือที่ไม่จำเป็นไปเลย ซิมการ์ดดังกล่าวก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้อีกต่อไป
  4. การที่ผู้คนอยู่ในแหล่งพักอาศัยของตนเองไม่ได้ออกไปไหน ส่งผลให้การเปิดเบอร์มือถือใหม่น้อยลง และไม่มีความจำเป็นต้องใช้บริการแพ็กเกจที่มีค่าบริการแพง เนื่องจากสามารถใช้อินเตอร์เน็ตของบ้านตนเองได้

อ้างอิง

https://www.ais.th/one-2-call/howto_activate/ 

https://www.dtac.co.th/prepaid/self-register.html

https://truemoveh.truecorp.co.th/news/detail/1817